แหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น


แหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น
แหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่นซึ่งจะเอื้อประโยชน์ในการเรียนรู้ที่หลากหลายในการจัดการเรียนการสอนมี 6 ประเภท ดังนี้
1. บุคคล หมายถึง ผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญในงานเฉพาะสาขาหรืองานอาชีพต่างๆ ซึ่งโรงเรียนอาจเชิญมาเป็นวิทยากรในบางชั่วโมง หรืออาจจ้างสอนเป็นรายวิชาหรือเชิญเป็นอาสาสมัครสอน เป็นพิเศษ ได้แก่ เกษตร กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นักธุรกิจ พระสงฆ์ ช่างฝีมือ เกษตรตำบล ผู้ที่ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพ ผู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นต้น
2. สถาบัน หน่วยงาน หรือองค์กรทางสังคม แบ่งได้ 2 ประเภทดังนี้
2.1 สถานศึกษา พัฒนาและให้บริการประชาชน หมายถึง หน่วยงานที่ให้การศึกษา พัฒนาความรู้ ความสามารถ เจตคติ ได้แก่ โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย สถานีอนามัย โรงพยาบาล ห้องสมุด วัด สถานีทดลองข้าว สถานีประมง พิพิธภัณฑ์ ศูนย์ฝึกอบรม ฯลฯ เป็นต้น
2.2 สถานประกอบการทางธุรกิจ การค้า อุตสาหกรรม และอาชีพอิสระ ได้แก่ ร้านค้า โรงงาน ฟาร์ม ฟาร์มเลี้ยงไก่ ร้านซ่อมรถจักรยาน ร้านขายอาหาร ไร่ข้าวโพด นาเกลือ สวนมะม่วง ฯลฯ เป็นต้น
3. สถานที่ที่เป็นแหล่งธรรมชาติ ได้แก่ แม่น้ำ ทะเล ภูเขา ป่าไม้ น้ำตก  ห้วย หนอง คลอง บึง ฯลฯ เป็นต้น
4.  วัสดุและเศษวัสดุต่างๆที่มีในท้องถิ่น  แบ่งได้  ประเภทคือ
4.1 วัสดุและเศษวัสดุที่ได้จากธรรมชาติ ได้แก่ แร่ธาตุ ดิน หิน ทราย พืช เปลือกไม้ เมล็ดข้าว ใบไม้ ดอกไม้ ผลไม้ ฯลฯ เป็นต้น
4.2 วัสดุและเศษวัสดุที่ได้จากการผลิตหรือการประดิษฐ์ขึ้นโดยมนุษย์ ได้แก่ กระดาษ กล่องกระดาษ ขวดแก้ว ขวดพลาสติก เศษไม้ เศษผ้า เศษกระดาษ เศษกระจก กระป๋อง ฝาขวดน้ำอัดลม ฯลฯ เป็นต้น
5. สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น แผ่นพับ วารสาร หนังสือพิมพ์หนังสือ รูปภาพ ฯลฯ
6. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น อินเตอร์เน็ต แผ่นซีดี – รอม บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
(CAI)   วีดีทัศน์ ภาพยนตร์ฯลฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น