แบบจำลองของวอคเกอร์


แบบจำลองของวอคเกอร์
              วอคเกอร์ไม่เห็นด้วยกับแบบจำลองจุดประสงค์หรือแบบจำลองเชิงเหตุผลของกระบวนการหลักสูตร  และเห็นว่าแบบจำลองจุดประสงค์ไม่เป็นที่นิยมและไม่ประสบความสำเร็จ  วอคเกอร์กล่าวว่าผู้พัฒนาหลักสูตรไม่ได้ทำตามวิธีการที่พรรณนาขั้นตอนเหตุผลขององค์ประกอบของหลักสูตร  เมื่อมีการสร้างหลักสูตร  นักพัฒนาหลักสูตรเหล่านั้นดำเนินการด้วยขั้นตอน 3ขั้นตามธรรมชาติ ดังภาพประกอบ 20
              ข้อสรุปดังกล่าวข้างต้นมาจากการวิเคราะห์รายงานโครงการหลักสูตรและการเข้าร่วมโครงการหลักสูตรของวอคเกอร์  การวิเคราะห์นี้นำไปสู่การพรรณนาว่าอะไรคือสิ่งที่วอคเกอร์เห็นว่าเป็นแบบจำลอง  “ธรรมชาติ”  ของกระบวนการหลักสูตรเป็นแบบจำลองธรรมชาติในความ รู้สึกที่ว่า สร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของประสบการณ์และความสัมพันธ์ที่สังเกตได้ในโครงการ หลักสูตรที่เป็นอยู่ในเวลานั้นด้วยความศรัทธาในหลักการเท่าที่จะเป็นไปได้
            ในขั้นแรกของวอคเกอร์สนับสนุนว่า “ฐาน” ประกอบด้วยการผสมผสานความคิดที่หลากหลาย  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แง่คิด ความเห็นความเชื่อ และค่านิยม  ซึ่งเกี่ยวข้องกับหลักสูตรสิ่งเหล่านี้อาจจะนิยามได้อย่างมีเหตุผล  มีความชัดเจน  และก่อตัวเป็นฐานของการตัดสินใจของผู้พัฒนาหลักสูตร ในภาพ 9.8 แบบจำลองกระบวนการหลักสูตรของวอคเกอร์แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างขั้นแรกและขั้นย่อยๆ
              หลังจากนั้น  วอคเกอร์ได้ยืนยันว่า  ผู้พัฒนาหลักสูตรไม่ได้เริ่มต้นด้วย “กระดานชนวนที่ว่างเปล่า (blank slate)” แต่เริ่มด้วยการอาศัย ค่านิยม มโนทัศน์ และอื่นๆ เป็นฐานในการสร้างหลักสูตร ฐานหมายรวมถึงความคิดว่า อะไรคือฐานและฐานควรจะเป็นอย่างไรด้วยสิ่งเหล่านี้ช่วยผู้พัฒนาหลักสูตรในการตัดสินใจว่าควรจะทำอย่างไร
              เมื่อปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเริ่มต้นขึ้นก็แสดงว่าเริ่มเข้าสู่ระยะของการปรึกษาหารือ(deliberation) วอคเกอร์ได้ยืนยันว่า การอภิปราย ปรึกษาหารือในเรื่องที่เกี่ยวกับฐาน ก่อให้เกิดสถานการณ์ที่ผู้พัฒนาหลักสูตรแสวงหาเพื่อที่จะทำให้ความคิดมีความชัดเจนและสอดคล้องกันระยะนี้อาจจะเห็นความยุ่งเหยิงได้  เป็นระยะที่ก่อให้เกิดความส่องสว่างในการพิจารณา
              ระยะของการปรึกษาหารือนี้ไม่มีปรากฏอยู่ในขั้นของแบบจำลองจุดประสงค์  เป็นระยะของการสุ่มความมีปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อนของผู้พัฒนาหลักสูตรด้วยกันซึ่งปรากฏความสำเร็จในภูมิหลังของงานจำนวนมากก่อนที่จะมีการออกแบบหลักสูตร
              ขั้นสุดท้ายของการจำลองนี้คือ “การออกแบบ” ในระยะนี้ผู้พัฒนาหลักสูตรจะตัดสินใจเกี่ยวกับกระบวนการที่หลากหลายขององค์ประกอบของหลักสูตร การตัดสินใจจะเกิดขึ้นหลังจากที่ได้มีการอภิปรายอย่างกว้างขวางและประนีประนอมความคิดของแต่ละบุคคลเข้าด้วยกัน การตัดสินใจนั้นจะได้รับการบันทึกไว้ และใช้เป็นฐานสำหรับเอกสารหลักสูตรหรือวัสดุหลักสูตรที่มีความเป็นเฉพาะอย่าง
              สรุปว่า  แบบจำลองนี้  เป็นการพรรณนาพื้นฐาน (primary descriptive) ในขณะที่แบบจำลองดั้งเดิมเป็นเงื่อนไขหรือข้อกำหนด (prescriptive)  แบบจำลองนี้โดยพื้นแล้วเป็นไปตามโลก  สิ่งที่เป็นหลักประกอบด้วย  การเริ่มต้น (ฐาน)  จุดหมายปลายทาง  (การออกแบบ)  และกระบวนการ (การปรึกษาหารือ)  โดยอาศัยวิธีการจากจุดเริ่มต้นไปจนถึงจุดหมายปลายทาง
              ในทางกลับกัน  แบบจำลองดั้งเดิม (classical  model) เป็นแบบจำลอง วิธีการจุดหมายปลายทาง (means-end  model) ประกอบด้วยจุดหมายปลายทางที่ต้องการ (จุดประสงค์) วิธีการที่จะบรรลุจุดหมายปลายทาง  (ประสบการเรียนรู้)  และกระกระบวนการ (การประเมินผล) เพื่อที่จะตัดสินใจว่า วิธีการนั้นโดยแท้จริงแล้ว นำไปสู่จุดหมายปลายทางหรือไม่แบบจำลองทั้งสองแตกต่างกันในบทบาทตามจุดประสงค์ และการประเมินผลในกระบวนการของการพัฒนาหลักสูตรตามที่กำหนด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น