อธิบายตัวอักษรจาก NPU MODEL


Need Analysis
การวิเคราะห์ความต้องการ (Need Analysis)
ความต้องการ (Need) คือ ความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เป็นอยู่กับสิ่งที่คาดหวังให้เป็นไป เช่น ความแตกต่างระหว่างผลงานที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลทำออกมากับมาตรฐานที่กำหนด ความไม่เหมือนกันของ สิ่งที่บุคคลผู้หนึ่งมีกับสิ่งที่ผู้ต้องการอยากให้มี การวิเคราะห์ความต้องการจึงเป็นการหาให้พบว่า กลุ่มบุคคล เป้าหมายปฏิบัติงานได้ต่ำกว่าระดับที่องค์การต้องการ (Gap) เพียงใด เป็นการวิเคราะห์ว่าบุคลากรกลุ่มเป้าหมาย ที่ศึกษานั้น ได้ปฏิบัติงานได้ถึงระดับที่องค์กรต้องการหรือไม่ ทั้งโดยชนิด ปริมาณงาน คุณภาพของงาน ความต้องการเหล่านี้สามารถใช้วิธีใดพัฒนาให้ดีขึ้นมาอยู่ในระดับที่องค์การต้องการ เช่น ด้วยการฝึกอบรมบุคลากร ที่เกี่ยวข้อง หรือด้านการพัฒนากระบวนการทำงาน หรือด้วยการจัดหาอุปกรณ์เครื่องมือเพิ่มเติม หรือด้วยการ พัฒนาทางการบริหารอื่น ๆ สำหรับความต้องการขององค์การที่สามารถตอบสนองได้ด้วยการจัดการฝึกอบรมให้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง เรียกว่า ความจำเป็นในการฝึกอบรม (Training Needs) ซึ่งจะได้มาจากกระบวนการวิเคราะห์ความต้องการ ความจำเป็นในการฝึกอบรมนี้เมื่อวิเคราะห์จากข้อมูลที่รวบรวมก็สามารถค้นหาเป้าหมายในการฝึกอบรม (Instructional Goals) ที่จะสนองความต้องการจากข้อมูลที่มีอยู่เพื่อประกอบการกำหนดแผนและหลักสูตรฝึกอบรม ให้แก่บุคลากรในองค์การที่เกี่ยวข้องต่อไป การวิเคราะห์ความต้องการตามแนวทางของ Designer’s Edge มีวิธีการดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
1. การรวบรวมข่าวสารและเก็บข้อมูล
การรวบรวมข่าวสารและเก็บข้อมูลมีความสำคัญเพราะทำให้รู้ว่าความต้องการคืออะไร ผู้รับการฝึกอบรมมีคุณลักษณะและความสามารถในปัจจุบันอย่างไร มีความต้องการอะไรบ้าง หากเก็บข้อมูล ได้อย่างถูกต้องก็จะรู้ได้ว่า การฝึกอบรมที่จะจัดขึ้นสำหรับบุคลากรกลุ่มเป้าหมายต้องใช้หลักสูตรที่มีเนื้อหาอย่าไร ปกติโดยทั่วไปจะเลือกกลุ่มเป้าหมายที่ผู้บริหารสนใจอยากพัฒนาก่อน หรือระบุไว้ในแผนกลยุทธ์ของหน่วยงาน ในการเก็บข้อมูลควรเก็บให้ได้มากที่สุด แบบ ๓๖๐ องศา (๓๖๐ Degree feedback)

ส่วนวิธีการที่ใช้เก็บข้อมูลมีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามสภาพของแหล่งข้อมูลและสภาพ ของข้อมูล รวมทั้งตามสภาพความต้องการของการใช้ข้อมูลด้วย ไม่ว่าจะใช้วิธีใดในการเก็บข้อมูลก็มีความจำเป็น ต้องเก็บข้อมูลทุก ๆ รูปแบบที่เป็นไปได้ โดยพยายามเลือกกลุ่มตัวอย่างที่พอเหมาะหรือมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และในการเก็บข้อมูลจะต้องไม่ใช้เครื่องมือเก็บข้อมูลที่มีความลำเอียง
2. การระบุความต้องการ
การระบุความจำเป็นหรือความต้องการเป็นการเขียนประโยคที่อธิบายสั้นๆ ให้เห็นความแตกต่างระหว่างสิ่งที่กำลังเป็นอยู่กับสิ่งที่ควรจะเป็นหรือสิ่งที่องค์กรคาดหวัง ซึ่งช่องว่างของความแตกต่างนี้อาจจะเป็นได้ทั้งผลงานจากตัวบุคลากร จากหน่วยงานหรือจากองค์การที่เป็นอยู่ สิ่งสำคัญในการระบุความต้องการจะต้องเขียนออกมาเป็นคำพูดว่าความต้องการหรือปัญหาในการทำงานนั้นคืออะไร เพราะคำพูด เหล่านี้จะทำให้เราสามารถสร้างวัตถุประสงค์ในการฝึกอบรมได้ตรงกับความต้องการหรือปัญหานั้นแนวทางการแก้ไขความต้องการขององค์กร
- ความต้องการที่ถือว่าแก้ไขด้วยการฝึกอบรม (Training Needs) ได้ก็ต่อเมื่อ ความต้องการนั้นแสดงถึงช่องว่างของผลการปฏิบัติของคนกับสิ่งที่หวัง เช่น พนักงานหรือผู้เรียนไม่สามารถ ปฏิบัติงานได้ตามที่คาดหวังในงานกำหนดไว้ เพราะพวกเขาไม่มีกลยุทธ์ภายในที่จะจัดการปัญหาของตัวเองได้ การฝึกอบรมพยายามจะช่วยให้บุคลากรสร้างกลยุทธ์นี้ขึ้นในตัวเขาเองเพื่อช่วยให้ทำงานที่รับผิดชอบได้ดีกว่า
- ความต้องการที่แก้ไขได้ด้วยการจัดหาเครื่องมือให้ (Equipment Needs) ความต้องการ จะแสดงออกมาในลักษณะที่ว่าคนที่ปฏิบัติมีทักษะและประสบการณ์ที่เพียงพออยู่แล้ว แต่ไม่สามารถทำงานได้ผลสม่ำเสมอด้วยคุณภาพที่ดีภายในเวลาที่จำกัด เครื่องมือจะเป็นตัวเพิ่มศักยภาพในการทำงานให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นได้
- ความต้องการที่ตอบสนองด้วยการแก้ไขนโยบายหรือกระบวนการ (Policy Needs) เป็นปัญหาของนโยบาย หรือกระบวนการทำงานที่ต้องวิเคราะห์โดยตัดเอาเครื่องมือ เครื่องจักรและการฝึกอบรม บางประการที่จำเป็นออก หากพบว่ายังมีปัญหานี้อยู่ น่าจะวิเคราะห์ได้ว่าเป็นเพราะนโยบายและกระบวนการ ประเภทของความต้องการ
- ความต้องการเร่งด่วน (Express Need) เป็นความต้องการประเภทที่ต้องถือว่าสำคัญ และมีหลักฐานเพียงพอที่จะส่งไปกับคำฟ้องศาลได้ทีเดียว ความต้องการแบบนี้จะมีข้อเท็จจริงประกอบ ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีการวัด นับ คำนวณและรวบรวมมาอย่างดีถูกต้อง
- ความต้องการที่จำเป็น (Perceived Need) เป็นความต้องการที่เกิดจากความคิดเห็น ของบางคนหรือของผู้สังเกตการณ์ ความต้องการแบบนี้มีข้อมูลรวบรวมเอาไว้น้อย จึงถูกจัดเป็นความต้องการประเภทนามธรรม จนกว่าจะมีข้อมูลประกอบให้เห็นถึงความสำคัญ หากสงสัยว่าความต้องการใดควรหรือไม่ที่จะจัดเป็นความต้องการ ควรหาทางวัดหรือประเมินความสำคัญของความต้องการนั้น ๆ เทียบกับผลการปฏิบัติงาน
- ความต้องการในอนาคต (Future Need) เป็นความต้องการที่ต้องใช้สามัญสำนึก หรือประสบการณ์ที่แสดงแนวโน้มว่าเป็นความต้องการที่จำเป็นต้องมีในอนาคต ส่วนใหญ่มักเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ

3. การเขียนเป้าหมายการฝึกอบรมและการจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วน
เป้าหมายในการในการฝึกอบรม (Instructional Goals) คือ สิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียนทำได้ หลังจากจบการฝึกอบรม เป้าหมายการฝึกอบรมจะต้องวิเคราะห์มาจากเป้าหมายขององค์การ การค้นหาความต้องการ และจากประสบการณ์ หรือการสังเกต การเขียนเป้าหมายในการฝึกอบรมต้องเขียนเป็นประโยคสามัญที่กล่าวถึงผลลัพธ์ของผู้เรียนที่ชัดเจน มีความสัมพันธ์กับปัญหาและความต้องการที่กำหนดไว้ในประเด็นหนึ่ง ๆ และสามารถทำให้สัมฤทธิ์ผลได้จากการฝึกอบรม มากกว่าด้วยวิธีอื่น

แนวทางในการจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนของเป้าหมายการฝึกอบรม ได้แก่
ก.วิเคราะห์ผลที่จะเกิดกับแต่ละบุคคลหรือองค์การเพื่อดูว่าการฝึกอบรมที่มีอยู่ในโปรแกรมขององค์การสามารถจะแก้ปัญหาได้หรือไม่ หากไม่ได้กำหนดน้ำหนักของผลกระทบของเป้าหมาย ระหว่าง ๑–๑๐๐
ว่ามีขนาดเท่าไร ก็ควรมีการเสนอข้อมูลให้กับผู้บริหารเพื่อให้ความสำคัญของเป้าหมายการฝึกอบรมโดยต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการฝึกอบรมด้วย แล้วกำหนดความเร่งด่วนในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
ข.ให้พิจารณาดูว่า มีทีมงานที่จะรับผิดชอบเป้าหมายการฝึกอบรมหรือไม่ มีเวลาที่จะจัดการฝึกอบรมตามเป้าหมายหรือไม่ และเป้าหมายการฝึกอบรมเป็นที่ยอมรับของผู้บริหารที่จะอนุมัติงานฝึกอบรมหรือไม่

4. การเขียนรายงานการวิเคราะห์ความต้องการ
การเขียนรายงานต้องกระบุความต้องการทุกประเด็นที่วิเคราะห์มาได้ แยกประเภทความต้องการ (ด่วน, จำเป็น, อนาคต) ชนิดของการแก้ปัญหา (การฝึกอบรม, เครื่องมือ, ทรัพยากร ฯลฯ ) รวมถึงเป้าหมาย ในการฝึกอบรม และจัดความสำคัญเร่งด่วน (วิกฤติ, สูง, กลาง, ต่ำ) ซึ่งข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหาร และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในการวางแนวทางในการจัดฝึกอบรม การวิเคราะห์สภาพในองค์การ รวมถึงการปรับปรุงทางการบริหารต่าง ๆ
5. การขอความเห็นชอบ
เป็นการส่งรายงานที่วิเคราะห์ได้ให้กับผู้สนใจและผู้บริหารที่มีอำนาจในการตัดสินใจ เพื่อจัดการฝึกอบรม ทำให้รู้ถึงข้อมูลที่เกี่ยวกับความต้องการขององค์การ และรายงานนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นในการกำหนดแผนการพัฒนาบุคลากรให้เกิดประสิทธิภาพได้ต่อไป
Posted by : รุ่งทิพย์
Praxis
สมิธ (Smith, M.K. 1996) ได้ให้แนวคิดในการนิยาม “หลักสูตร” ตามทฤษฏีและการปฏิบัติหลักสูตรมี 4 ทิศทางดังต่อไปนี้
1.หลักสูตรเป็นองค์ความรู้ที่จะส่งผ่านให้ผู้เรียน
2.หลักสูตรเป็นความพยายามที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์
3.หลักสูตรเป็นกระบวนการd
4.หลักสูตรเป็น Praxis หมายถึง การปฏิบัติของมนุษย์และความเข้าใจในการปฏิบัตินั้น

Understanding
ในการดำเนินชีวิตประจำวันเกี่ยวข้องกับการรู้ (to know) และการรับรู้ (perception) โดยมีประสาทสัมผัสทั้งห้า และใจเป็นตัวรู้อารมณ์ และนำไปสู่ความรู้สึกและความเข้าใจ ดังนั้นการแสดงอาการความเข้าใจ โดยการตอบรับด้วยอาการ ผยักหน้า หรือส่งเสียงบอกให้ทราบอย่างใด อย่างหนึ่ง ครับ คะ โอเค ในภาษาอังกฤษ ก็คือ yes , ok, I see , I get ที่กล่าวมาเป็นการรับรู้และเข้าใจ อาจจะมาจากคำถามว่า รู้เรื่องไหม เข้าใจไหม รู้หรือเปล่า ซึ่งบางครั้งมีความหมายไปในทางที่การรู้อย่างเดียวก็อาจไม่เข้าใจก็ได้ เช่นรู้แต่ทำไม่ได้ปฏิบัติไม่ได้ ดังนั้นความเข้าใจจึงมีหลายระดับ I see อาจเป็นความเข้าใจที่ผิวเผิน กว่า I get
ยังมีความเข้าใจที่นำมาใช้เป็นทางการมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ใช้ในการเรียนการสอน ได้แก่คำว่า comprehension กับคำว่า understanding เป็นคำที่มีความหมายเดียวกันแต่คำว่า understand จะใช้ในภาษาพูดมากกว่า comphehension นั้นเป็นการสร้างความหมาย (construction of meaning) ในแง่นี้การสร้างความหมายของแต่ละคนก็อาจแตกต่างกันไปก็คือเข้าใจแตกต่างกันไปด้วยในแต่ละคน ส่วนคำว่า understanding เป็นความเข้าใจที่ต้องใช้ความรู้เดิมที่มีอยู่แล้วมาช่วยในการสร้างความรู้ใหม่ที่มีความหมายไปไกลกว่าสารสนเทศที่ให้มาหรือที่ได้รับมาและความรู้พื้นฐาน (ความรู้ที่มีอยู่เดิม) ซึ่งนำมาเป็นหลักฐานในการสร้างความรู้ใหม่มากกว่าที่จะดึงเอามาจากความจำประจำตัว

จากที่กล่าวมาแล้วนั้น จะเห็นว่าการเข้าใจนั้นมีความหมายใกล้เคียงกับการเรียนรู้ นั่นก็คือคนจะเข้าใจอะไรได้ก็ต้องเกิดการเรียนรู้ก่อน ทั้งที่เรียนรู้มาแล้ว และเพิ่งเกิดการเรียนรู้ใหม่ การเรียนรู้โดยทั่วไปจะหมายถึงกระบวนการสร้างความรู้ขึ้นมาตลอดเวลา จากความรู้ที่มีอยู่เดิม ไม่ใช่เป็นเพียงการบันทึกความรู้หรือ ดูดซึมเอาความรู้เข้าไว้ การเรียนรู้จึงขึ้นอยู่กับความรู้ (knowledge dependent) ที่คนเราสร้างความรู้ใหม่ขึ้นจากความรู้ปัจจุบัน (current knowledge) หรือความรู้ที่มีอยู่เดิม และจะเกิดการเรียนรู้ได้ดีก็ต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการสร้างความรู้ด้วยความอยากรู้ หรือสร้างความหมาย สร้างความเข้าใจตามที่ต้องการนั่นเอง

Research-Based Learning (RBL)
นิยามของการจัดการศึกษาแบบRBL
              การเรียนรู้เป็นการจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์เพื่อให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์ กระบวนการเรียนรู้ประกอบด้วยการกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ การจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์เรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเกี่ยวข้องการทั้งกระบวนการเรียนและการสอน การเรียนนั้นเป็นบทบาทของผู้เรียนส่วนการสอนเป็นบทบาทของผู้สอน การเรียนรู้แบบ RBL เป็นการจัดการเรียนการสอนที่นำ การวิจัย เข้ามาเป็นเครื่องมือของการจัดการเรียนการสอน

เหตุผลของการจัดการศึกษาแบบRBL
                รศ.ดร.ไพทูรย์ สินลารัตน์ คณบดีคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้กล่าวไว้ในหนังสือชื่อ ‘การเรียนการสอนที่มีการวิจัยเป็นฐานว่า ’การจัดการเรียนรู้แบบเดิมนั้นไม่สามารถตอบสนองความต้องการใหม่ได้ เมื่อก่อนสถาบันอุดมศึกษาผลิตคนแบบ’จำทำ’เพื่อไปทำงานในระบบราชการ แต่ปัจจุบันการอุดมศึกษาต้องผลิตคนแก้ปัญหาด้วยตัวเองได้สูงไปให้แก่ระบบธุรกิจ การเรียนการสอนแบบ’พูดบอกเล่า’ ไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการใหม่ของอุดมศึกษาได้อีกต่อไป

                 ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา อดีตอธิการบดีของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยได้กล่าวว่าในหนังสือชื่อ ‘การศึกษาที่มีการวิจัยเป็นฐาน’ ว่าการวิจัยนั้นเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่สามารถสร้างคุณลักษณะหลายอย่างที่การศึกษาต้องการได้ การวิจัยสามารถปรับเปลี่ยนบุคคลให้ตั้งอยู่บนฐาน ข้อมูลและเหตุผล มีวิจารณญาณ วิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์และเกิดนวัตกรรมได้ ขั้นตอนของการวิจัยไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงความรู้ การประเมินความเชื่อได้ของความรู้ การตีค่า ความอิสระทางความคิดและเป็นตัวของตัวเองย่อมนำมาใช้เป็นเครื่องมือของการเรียนรู้ได้ทั้งสิ้น
                    ศ.ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ได้กล่าวไว้ในบทความเรื่อง การสอนแบบ Research-Based Learning ว่า จุดเริ่มต้นของการสอนแบบ RBL มาจากความสงสัยที่ว่า เป็นไปได้ไหมที่เราจะใช้วิธีการแสวงหาความรู้เป็นวิธีสอน ถ้าการศึกษาต้องการสร้างบัณฑิตให้เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยสติปัญญา มีความรู้จักตนเอง ใฝ่รู้อยู่เสมอ คิดริเริ่ม สร้างสรรค์ รอบคอบ ไตร่ตรองเหตุผลรับผิดชอบ เห็นการณ์ไกล มีศีลธรรม เสียสละ ซึ่งสอดคล้องคุณธรรมของนักวิจัยแล้ว ทำไมจึงไม่ใช้การวิจัยเป็นกระบวนการเรียนการสอนเสียเลย

ลักษณะสำคัญของการจัดการศึกษาแบบ RBL 
ลักษณะของการจัดการศึกษาแบบ RBL มีดังนี้ คือ
หลักการที่1.แนวคิดพื้นฐาน เปลี่ยนแนวคิดจาก’เรียนรู้โดยการฟัง/ตอบให้ถูก’ เป็น ‘การถาม/หาคำตอบเอง’
หลักการที่2.เป้าหมาย เปลี่ยนเป้าหมายจาก’การเรียนรู้โดยการจำ/ทำ/ใช้’ เป็นการคิด/ค้น/แสวงหา’
หลักการที่3.วิธีสอน เปลี่ยนวิธีสอนจาก’ การเรียนรู้โดยการบรรยาย’ เป็น ‘การให้คำปรึกษา’
หลักการที่4.บทบาทผู้สอน เปลี่ยนบทบาทผู้สอนจาก’ การเป็นผู้ปฏิบัติเอง’ เป็น ‘การจัดการให้ผู้เรียนปฏิบัติ

ทฤษฎีเบื้องหลังการจัดการศึกษาแบบ RBL
          การวิจัยเป็นกิจกรรมการแสวงหาความรู้ใหม่ การใช้การวิจัยเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ก็เพื่อต้องการผลจากการวิจัย 2 ประการ คือ
(1) ให้ผู้เรียนได้ค้นพบความรู้ด้วยตนเอง ตามแนวคิดของ(ก)การจัดการศึกษาแบบ Constructivism ที่เชื่อว่า การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล บุคคลเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเองจากการสัมพันธ์สิ่งที่พบเห็นกับความรู้ความเข้าใจเดิมที่บุคคลมีอยู่เดิม หรือ(ข)แนวคิดของ Experience Learning ที่ว่า Experience learning takes the student out of the detached role of a vicarious learner and plunges her into the role of participant observer, performer, or even teacher หรือ(ค)แนวคิดของการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่ว่า องค์ความรู้หรือกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รับจะมีคุณค่าและถาวรมากกว่าถ้าผู้เรียนเปลี่ยนจากการเรียนแบบรับ(passive learning)มาเป็นแบบรุก(active learning)
(2) ให้ผู้เรียนได้พัฒนาคุณลักษณะที่การศึกษาต้องการประกอบด้วยการเป็นผู้ไฝ่รู้ การเป็นผู้มีวิธีการแสวงหาความรู้ การเป็นผู้มีความสามารถในการแก้ปัญหาด้วยตนเอง การเป็นผู้คิดอย่างอิสระไม่ต้องพึ่งพา การเป็นผู้นำตนเองและผู้อื่น อันเป็นคุณลักษณะที่การศึกษาพึงประสงค์

รูปแบบของการจัดการศึกษาแบบ RBL
              การจัดการศึกษาแบบ RBL นั้นมีรูปแบบการจัดการศึกษาดังนี้
ก. RBL ที่ใช้ผลการวิจัยเป็นสาระการเรียนการสอน ประกอบด้วย
1) เรียนรู้ผลการวิจัย/ใช้ผลการวิจัยประกอบการสอน
2)เรียนรู้จากการศึกษางานวิจัย/การสังเคราะห์งานการวิจัย
ข. RBL ที่ใช้กระบวนการวิจัยเป็นกระบวนการเรียนการสอน ประกอบด้วย
(3)เรียนรู้วิชาวิจัย/วิธีทำวิจัย
(4)เรียนรู้จากการทำวิจัย/รายงานเชิงวิจัย
(5)เรียนรู้จากการทำวิจัย/ร่วมทำโครงการวิจัย
(6)เรียนรู้จากการทำวิจัย/วิจัยขนาดเล็ก
(7)เรียนรู้จากการทำวิจัย/วิทยานิพนธ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น