แนวโน้มของการพัฒนาหลักสูตร


แนวโน้มของการพัฒนาหลักสูตร
            การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้ประสบความสำเร็จโดยสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะครูผู้สอน และผู้บริหารสถานศึกษาให้มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาโดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาที่มีบริบทใกล้เคียงกันตามมิติความต้องการจำเป็นของแต่ละสถานศึกษา มีกิจกรรมร่วมมือกันในการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันด้านการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน การพัฒนาหลักสูตร และกิจกรรมอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ซึ่งหมายถึงกระบวนการสร้างแผนหรือแนวทางในการจัดมวลประสบการณ์ที่จัดทำโดยบุคคลหรือคณะบุคคลในระดับสถานศึกษาเพื่อใช้พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานการเรียนรู้ ประกอบด้วย ส่วนที่เป็นหลักสูตรแกนกลางที่กำหนดจากส่วนกลางที่ปรากฏในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544  และส่วนที่เกี่ยวกับสภาพชุมชนและท้องถิ่นซึ่งพัฒนาโดยเขตพื้นที่การศึกษา และส่วนเพิ่มเติมที่สถานศึกษาพัฒนาขึ้นเพื่อให้สอดคล้องเหมาะสมกับความสนใจ ความต้องการและความถนัดของผู้เรียนรวมทั้งความเหมาะสมกับสภาพสังคม กระบวนการใช้หลักสูตรสถานศึกษาและการประเมินผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษาโดยการศึกษาให้มากขึ้นแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรในปัจจุบันมุ่งเน้นให้มีการพัฒนาหลักสูตรระดับท้องถิ่นมากขึ้น และเปิดโอกาสให้แต่ละท้องถิ่นสามารถพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสมกับความต้องการและเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่นของตน เพื่อให้ผู้เรียนที่อยู่ในท้องถิ่นนั้นๆ ได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง รวมทั้งยังเป็นการปลูกฝังให้ผู้เรียนมีความรักและความผูกพันกับท้องถิ่นของตนมากขึ้นด้วย (มสธ2536)
            เมื่อกล่าวถึงแนวโน้มของการพัฒนาหลักสูตร มีประเด็นสำคัญเกี่ยวข้อง 2 ประเด็นคือ ข้อมูลที่นำมาเป็นพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร กับการวิจัยทางการศึกษา โดยจะพบว่า ในระยะเวลาประมาณ 10 ปี และจากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องสรุปได้ดังนี้
รายงานการศึกษาวิจัยในช่วงทศวรรษ 1940 และ 1950 มุ่งศึกษา ตัวแปรทำนาย จากคุณสมบัติของครู มีความเชื่อว่าครูที่มีคุณสมบัติมีแนวโน้มที่จะสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้ 1) เสียง รูปร่างหน้าตา 2) ความมั่นคงทางอารมณ์ 3) ความน่าเชื่อถือ 4) ความอบอุ่น และ 5) ความกระตือรือร้น
ต่อมาผลการศึกษาวิจัยความมีประสิทธิภาพของครู ในช่วงทศวรรษ 1960 และ 1970 ได้ข้อสรุปและเสนอแนะในการพัฒนาวิชาชีพด้วย การนิเทศแบบคลินิก (Clinical Supervision) เทคนิควิธีการสังเกตการสอนชั้นเรียน เป็นต้น

ต่อมาในทศวรรษ 1980 เมเดอลีน ฮันเตอร์ (Madeline Hunter) และคณะมหาวิทยาลัยยูซีแอลเอใช้หลักทฤษฎีเป็นฐาน (Theory-based) ในการเรียนการสอน สรุปได้ดังนี้ 1) การสอนมีรากฐานมาจากทฤษฎีการเรียนรู้แบบพฤติกรรมนิยม 2) การอนุมานจากแนวคิดในด้านการเรียนรู้ เช่น แรงจูงใจ (Motivation) ความทรงจำ (Retention) การถ่ายโอนความรู้ (Transfer) เป็นต้น
และผลการศึกษาวิจัยในช่วงทศวรรษ 1980 และ 1990  การเปลี่ยนแปลงทัศนะการเรียนรู้แบบพฤติกรรมนิยม (Behaviorist) เป็นการเรียนรู้ด้วยปัญญา (Cognitive Learning Theory) สถานศึกษาใดที่มุ่งมั่นพัฒนาในด้านการประเมินที่มีประสิทธิภาพและการพัฒนาวิชาชีพการสอนจึงต้องเริ่มด้วยการกำหนดมาตรฐานการสอนซึ่งสะท้อนสิ่งที่ครูควรรู้ ในประเทศไทยหน่วยงานหรือองค์กรวิชาชีพครูที่เรียกว่า คุรุสภาได้เสนอกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้มีความรู้สมรรถนะความสามารถในการจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ
ดังนั้นแนวโน้มของการพัฒนาหลักสูตรอาจพิจารณาได้จากผลการศึกษาวิจัย และข้อมูลพื้นฐานด้านต่าง  ๆ ที่นำมาใช้การพัฒนาหลักสูตร


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น