ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรของนักวิชาการไทย
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของวิชัย
วงษ์ใหญ่
วิชัย วงษ์ใหญ่
ได้สรุปแนวคิดและขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตร
โดยรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรจะเป็นฐานคิดในการพัฒนาหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ.2552
ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรมีดังนี้
1.คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร ใช้ข้อมูลสภาพปัญหาและความต้องการของสังคม
มากำหนดจุดมุ่งหมาย หลักการและโครงสร้าง และออกแบบหลักสูตร
โดยปรึกษาผู้เชี่ยวชาญประกอบ
2.ยกร่างเนื้อหาสาระ
แต่ละกลุ่มประสบการณ์ แต่ละหน่วยการเรียน และแต่ละรายวิชา
โดยปรึกษาหารือผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาวิชา คณะกรรมการฯ ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาวิชาเป็นผู้กำหนดผลการเรียนรู้
จุดประสงค์ เชิงพฤติกรรมหรือจุดประสงค์การเรียนรู้ วางแผนการสอน ทำบันทึก
ผลิตสื่อการสอน จัดกิจกรรมการเรียนการสอน
3.ทดลองใช้หลักสูตรในสถานศึกษานำร่อง
และแก้ไขข้อบกพร่อง
4.อบรมผู้สอน ผู้บริหาร
และบุคลากรทางการศึกษาให้เข้าใจหลักสูตรใหม่
5.ปฏิบัติการสอน
กิจกรรมการใช้หลักสูตรใหม่มี 4 ประการ คือ
5.1 การแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน
คือจัดทำวัสดุ สื่อการสอน
5.2 ผู้บริหารจัดเตรียมสิ่งต่างๆ
เช่น บุคลากร (ครู) วัสดุหลักสูตร และบริการต่างๆ
5.3 การสอน ผู้สอนประจำการ
ทำหน้าที่ดำเนินการสอน
5.4 การประเมินผล
ประเมินทั้งผลการเรียนและหลักสูตร แล้วนำไปแก้ไข
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดแบบจำลอง
SU
Model
กระบวนการพัฒนาหลักสูตร (สามเหลี่ยมใหญ่)
จะประกอบด้วยขั้นตอนในการจัดทำหลักสูดร (สามเหลี่ยมเล็กๆ 4 ภาพ) โดยประกอบด้วย 4
ขั้นตอนดังนี้
1.สามเหลี่ยมแรก
การวางแผนหลักสูตร (Curriculum
Planning) อาศัยแนวคิดพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์คำถามที่หนึ่งคือ
มีจุดมุ่งหมายอะไรบ้างในการศึกษาที่โรงเรียนต้องแสวงหา เพื่อนำไปวางแผ่นหลักสูตร
กำหนดจุดหมายหลักสูตร
2. สามเหลี่ยมรูปที่สอง
การออกแบบ (Curriculum
Design) นำจุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตรมาจัดทำกรอบการปฏิบัติ
ม่งเน้นให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาตามกระบวนการของหลักสูตร
สอดคล้องกับคำถามที่สองของไทเลอร์คือมีประสบการณ์ศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัดเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการศึกษา
การออกแบบหลักสูตรเพื่อให้มีจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ที่ตอบสนองจุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
3.สามเหลี่ยมรูปที่สาม
การจัดระบบหลักสูตร (Curriculum
Organize) จัดหลักสูตรเพื่อตอบสนองการวางแผนหลักสูตร
สองคล้องกับคำถามที่สามของไทเลอร์ คือ
จัดประสบการณ์เรียนรู้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ
การจัดระบบหลักสูตรให้ได้ประสิทธิภาพมีความหมายรวมถึงการบริหารที่สนับสนุนการจัดการเรียนรู้
และรวมถึงการนิเทศการศึกษา
4.สามเหลี่ยมรูปที่สี่
การประเมิน (Curriculum
Evaluation) ประเมินทั้งระบบหลักสูตรและผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร
สอดคล้องคำถามที่สี่ของไทเลอร์ คือ
ประเมินประสิทธิผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร
พื้นฐานแนวคิด SU Model มาจากการพัฒนาสามเหลี่ยมมุมบน มุ่งเน้นให้การศึกษา 3 ส่วน คือ จริยศึกษา
เป็นการอบรมศีลธรรมอันดีงาม พุทธิศึกษา ให้ปัญญาความรู้ และพลศึกษา
เป็นการฝึกหัดให้มีร่างกายสมบูรณ์ เมื่อนำมาใช้จะได้ว่า
เป้าหมายหมายของสูตรจะมุ่งเน้นให้เกิด ความรู้ (knowledge) พัฒนาผู้เรียน
(leader) และสังคม (society) มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นคนที่
“เก่ง ดี มีสุข” การพัฒนาหลักสูตรจะประกอบไปด้วย 3 ด้าน คือ ด้านปรัชญาการศึกษา
ด้านจิตวิทยา และด้านสังคม
มีการพัฒนาหลักสูตรจากรูปสามเหลี่ยมไปสู่การวางแผนหลักสูตร การออกแบบหลักสูตร
การนำหลักสูตรไปใช้ และการประเมินหลักสูตร ดังภาพ SU Model มีขั้นตอนดังนี้
1.เริ่มจากวงกลม
หมายถึง จักรวาลแห่งการเรียนรู้ รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า หมายถึง
กระบวนการพัฒนาหลักสูตร
2.ระบุพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร
ในพื้นที่วงกลมซึ่งมีพื้นฐานหลากหลายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตร ระบุพื้นฐาน
3 ด้าน (ปรัชญา จิตวิทยา สังคม)
ลงในช่องว่างนอกรูปโดยกำหนดให้ด้านสามเหลี่ยมระหว่างความรู้กับผู้เรียนมีพื้นฐานสำคัญคือ
พื้นฐานด้านปรัชญา
ด้านสามเหลี่ยมระหว่างผู้เรียนกับสังคมมีพื้นฐานผู้เรียนกับสังคมมีพื้นฐานสำคัญคือ
พื้นฐานด้านจิตวิทยา และด้านสามเหลี่ยมระหว่างสังคมกับความรู้มีพื้นฐานสำคัญคือ
พื้นฐานด้านสังคม
3.พื้นฐานด้านปรัชญา
ได้แนวคิดว่าการพัฒนาหลักสูตรที่มีจุหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้นความรู้
มาจากพื้นฐานสามรัตถนิยมกับปรัชญานิรันตรนิยม การพัฒนาหลักสูตรที่มีจุดมุ่งหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้นผู้เรียน
มาจากพื้นฐานปรัชญาอัตถิภาวะนิวม
และการพัฒนาหลักสูตรที่มีจุดหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้นสังคม
มาจากพื้นฐานปรัชญาปฏิรูปนิยม
4.กำหนดจุดกึ่งกลางของด้านสามเหลี่ยมทั้งสามด้าน
เพื่อแทนความหมายว่าในการพัฒนาหลักสูตรต้องใช้ข้อมูลพื้นฐานด้านปรัชญา จิตวิทยา
และสังคม
5.พิจารณากระบวนการพัฒนาหลักสูตร
นำแนวคิดกระบวนการพัฒนาหลักสูตรมากำหนดชื่อสามเหลี่ยมเล็กๆทั้งสี่รูป ได้แก
การวางแผนหลักสูตร การออกแบบหลักสูตร การจัดหลักสูตร และการประเมินหลักสูตร
หลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีพื้นฐานที่สำคัญจากปรัชญาพิพัฒนาการ
ที่มีความเชื่อว่าสาระสำคัญและความเป็นจริงของสิ่งทั้งหลายนั้นไม่ได้หยุดนิ่ง
ฉะนั้นวิธีการทางการศึกษาจึงต้องพยายามปรับปรุงให้สอดคล้องกับกาลเวลาและสภาพแวดล้อมอยู่เสมอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น